- คุณสมบัติทั่วไปของบิวทานอลชีวภาพเป็นแอลกอฮอล์ที่มีคาร์บอน 4 อะตอม (Primary alcohol)
- มีสูตรโมเลกุล C4H9OH
- สูตรโครงสร้างแสดงดังภาพที่ 1
- มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 74.12 g/mol
- ไม่มีสี ไวไฟ ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีกลิ่น เฉพาะตัวคล้ายกลิ่นของกล้วย แต่มีกลิ่นแอลกอฮอล์ที่ชัดเจน
- บิวทานอลชีวภาพสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัสโดยตรงทางดวงตาและผิวหนัง
- บิวทานอลชีวภาพสามารถละลายเข้ากับตัวทำละลายอินทรีย์อื่นๆได้ดี แต่มีความสามารถละลายน้ำได้ค่อนข้างต่ำ[2]
ลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของบิวทานอลชีวภาพแสดงดังตาราง
2.1 การสังเคราะห์บิวทานอลชีวภาพด้วยวิธีทางเคมี[2,3]
การผลิตบิวทานอลชีวภาพในระดับอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ผลิตจากกระบวนการทางเคมี แบ่งออกเป็น 3 กระบวนการ ได้แก่ Oxo process, Reppe process และ Crotonaldehyde hydrogenation
2.2 การสังเคราะห์บิวทานอลชีวภาพด้วยกระบวนการทางชีวภาพ
บิวทานอลชีวภาพเป็นผลิตผลหนึ่งที่ได้จากกระบวนการหมักของแบคทีเรียในกลุ่ม Clostridia จาก กระบวนการเอบีอี (ABE fermentation) ซึ่งประกอบด้วยอะซิโตน บิวทานอล และเอทานอล แบคทีเรีย Clostridium acetobutylicum เป็นสายพันธุ์ที่นิยมใช้ในกระบวนการผลิตบิวทานอลชีวภาพในระดับอุตสาหกรรมซึ่งบิวทานอลชีวภาพสามารถผลิตได้จากวัตถุดิบที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่น กากน้ำตาล (Molasses) สารชีวมวลทางการเกษตร (Agricultural biomass) ไม้ชนิดต่างๆ (Wood) และวัตถุดิบประเภทที่ให้แป้ง (Starchy material) (ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวไรย์ และมันสำปะหลัง) ของเสียจากอุตสาหกรรมนม (Dairy industry waste) เป็นต้น[4]
ภาพ วิถีทางชีวเคมีของแบคทีเรีย Cl. Acetobutylicum
ภาพ วิถีทางชีวเคมีของแบคทีเรีย Cl. Acetobutylicum