พลาสติกชีวภาพพอลิเอไมด์ (Bio-Polyamide: Bio-PA)

  • Bio-PA เป็นพลาสติกชีวภาพที่มีความแข็งแรงเชิงกล และมีสมบัติการนำความร้อนที่ดี
  • Bio-PA สามารถขึ้นรูปได้ง่ายด้วยเครื่องขึ้นรูปพลาสติกในเชิงพาณิชย์
  • อุตสาหกรรมที่นำ Bio-PA ไปใช้ส่วนใหญ่ คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีความต้องการใช้ Bio-PA สูงขึ้น ตลาดการผลิต Bio-PA จึงมีการเติบโตที่รวดเร็ว [1]
  • Bio-PA ที่สามารถผลิตได้มีหลายประเภท เช่น Bio-PA 11, Bio-PA 10.10, Bio-PA 10.12 และ Bio-PA 6.10 เป็นต้น
  • Bio-PA ที่นิยมใช้งานมากที่สุดคือ Bio-PA 6 เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับราคาต้นทุน

 

        ข้อแตกต่างของกระบวนการสังเคราะห์ PA และ Bio-PA คือ แหล่งกำเนิดของสารตั้งต้น โดย PA สามารถผลิตได้จากน้ำมันดิบ แต่ Bio-PA สามารถผลิตได้จาก ละหุ่ง ซึ่งเป็นวัสดุทางธรรมชาติ โดยน้ำมันละหุ่งประมาณร้อยละ 40-50 ประกอบไปด้วยกรด Ricinoleic (C18H34O3) ประมาณร้อยละ 90 แบ่งเป็น C8 และ C10 โมเลกุลโดยกระบวนการไฮโดรไลซิสด้วยอัลคาไลน์ กระบวนการสังเคราะห์แสดงดังภาพ

         “Bio-PA สามารถขึ้นรูปได้ด้วยเครื่องขึ้นรูปพลาสติกในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากคุณสมบัติของ Bio-PA คล้ายกับ PA ต่างกันเพียงแหล่งที่มาของสารตั้งต้นเพียงเท่านั้น”