- วัตถุดิบที่ใช้เป็นมอนอเมอร์ในการผลิต Bio-PU หาได้จากวัสดุที่สามารถผลิตทดแทนได้ เช่น พืชและจุลินทรีย์ เป็นต้น
- ลดปัญหาการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตมอนอเมอร์ได้
- ในการผลิต Bio-PU ไม่สามารถช่วยให้ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น แต่มีข้อดีคือ
- ช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกในขั้นตอนการผลิตมอนอเมอร์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- ลดทรัพยากรธรรมชาติที่ผลิตได้ยากเนื่องจากต้องใช้เวลานานนับหมื่นปี
- โครงสร้างของ Bio-PU แสดงดังภาพที่ 1 โดยคุณสมบัติของ Bio-PU ทั้งทางกายภาพและทางเคมีแตกต่างกันขึ้นกับมอนอเมอร์และสภาวะในการทำปฏิกิริยา โดยส่วนใหญ่สมบัติของ Bio-PU จะขึ้นกับการนำไปใช้งาน ซึ่งแสดงดังตารางที่ 1 ชื่อทางเคมีของ Bio-PU คือ Bio-based polyurethane
- Bio-PU เกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างไดไอโซไซยาเนตหรือพอลิไอโซไซยาเนตและไดออลหรือ
พอลิออล
แหล่งที่มาของมอนอเมอร์อาจมาจากพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพหรืออาจผลิตจากแหล่งวัตถุดิบที่สามารถปลูกทดแทนได้แสดงดังภาพ
การสังเคราะห์ Bio-PU
การสังเคราะห์ Bio-PU นิยมสังเคราะห์จาก พอลิออลชีวภาพและไดไอโซไซยาเนต (ภาพที่ 3) โดยกระบวนการสังเคราะห์พอลิออลชีวภาพมี 3 วิธี ได้แก่ ได้แก่ การผลิตพอลิอีเทอร์พอลิออลจากแหล่งวัตถุดิบทางธรรมชาติ การผลิตพอลิเอสเทอร์พอลิออลจากแหล่งวัตถุดิบทางธรรมชาติพอลิเอสเทอร์พอลิออลจัดเป็นกึ่งชีวภาพและการผลิตพอลิออลจากน้ำมันพืช
เครื่องมือที่ใช้ในการขึ้นรูป Bio-PU สามารถใช้เครื่องมือเดียวกับกระบวนการขึ้นรูป PU ได้ เนื่องจากคุณสมบัติของ Bio-PU และ PU ใกล้เคียงกัน จะต่างกันตรงที่มาของมอนอเมอร์ที่ใช้เป็นสารตั้งต้น ในการสังเคราะห์เท่านั้น เนื่องจากพอลิยูรีเทนจัดเป็นพลาสติกที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางและมีสมบัติตั้งแต่ยืดหยุ่นไปจนถึงเป็นโฟมชนิดแข็ง โดยตัวอย่างในการนำ Bio-PU ไปใช้งานแสดงดังภาพ