- ช่วงแรก สารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิต PBS ได้แก่ กรดซัคซินิค เเละ 1,4-บิวเทนไดออล (เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแหล่งปิโตรเคมี)
- PBS มีอัตราการสลายตัวช้ากว่าพลาสติกชีวภาพทั่วไป
- ในเวลาต่อมามีการพัฒนาวิธีการผลิต PBS จากวัตถุดิบทางธรรมชาติ เช่น อ้อย แป้งมันสำปะหลัง เป็นต้น
- ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
- ช่วยลดต้นทุนการผลิตเม็ดพลาสติก
- มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์ ฟิล์มห่ออาหาร หรือสิ่งทอ เป็นต้น
- PBS ที่ผลิตจากวัตถุดิบชีวมวลสามารถขึ้นรูปได้ด้วยกระบวนการเดียวกับพลาสติกทั่วไป เพื่อตอบสนองการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรม
- PBS นิยมนำไปใช้งานด้านการเกษตร เช่น ถุงเพาะชำต้นกล้า แผ่นพลาสติกคลุมหน้าดิน เป็นต้น
- PBS มีสมบัติทนความร้อนสูง และสามารถย่อยสลายได้ดีกว่า PLA จึงเหมาะสำหรับใช้เคลือบแก้วกระดาษ หรือผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารแบบใช้แล้วทิ้ง [1,2]
PBS มีโครงสร้างเป็นโซ่ตรงและมีหมู่เอสเทอร์เป็นองค์ประกอบ แสดงดังภาพที่ 1 ทำให้ PBS มีอุณหภูมิการหลอมเหลวและความเป็นผลึกสูง ทนความร้อนได้ถึง 200 oC มีคุณสมบัติเชิงกลคล้ายคลึงกับพอลิเอทิลีนและมีความแข็งแรงมากกว่า PLA จึงนิยมใช้ผสมกันเพื่อเพิ่มสมบัติเชิงกลและลดต้นทุนในการผลิต [3,4]
3.1 อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
PBS เป็นพลาสติกชีภาพ ที่สามารถขึ้นรูปด้วยกระบวนการเดียวกันกับเทอร์โมพลาสติกทั่วไป เช่น กระบวนการเป่าฟิล์ม (Blow film extrusion) กระบวนการฉีดขึ้นรูป (Injection molding) เป็นต้น