มีเทนชีวภาพ (Bio-methane)
  • วัตถุดิบที่นิยมนำมาผลิตมีเทนชีวภาพ ได้แก่ ของเสียจากอาหาร ของเสียจากสัตว์ สิ่งปฏิกูล
    น้ำเสีย ถ่าน และไม้แห้ง เป็นต้น ซึ่งวัตถุดิบจะขึ้นกับกระบวนการผลิต
  • ปฏิกิริยาเคมีในกระบวนการผลิตก๊าซมีเทนชีวภาพแบบหมักมีอุณหภูมิที่ใช้ในการหมักทั้งระดับสูง กลาง และต่ำ โดยระบบที่มีอุณหภูมิสูงจะแสดงถึงสมรรถนะสูงในการผลิตเมื่อเทียบกับอุณหภูมิอื่น
  • ข้อเสียของกระบวนการผลิตก๊าซมีเทนชีวภาพ คือ
  • อัตราการย่อยต่ำ
  • อัตราการกำจัดแอมโมเนียมและฟอสเฟสต่ำ
  • ใช้ระยะเวลาบำบัดนาน และต้องใช้ความร้อนภายในกระบวนการ

แต่สิ่งที่ได้จากการหมักทั้งของเหลวและกากของเสียจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในทางเกษตร เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น โครงสร้างของก๊าซมีเทนชีวภาพแสดงดังภาพ

 

 

      ชื่อทางเคมีของก๊าซมีเทนชีวภาพ คือ Methane และชื่อทางการค้าของก๊าซมีเทนชีวภาพนิยมใช้ คือ Biomethane และ Bio-methane อีกทั้งยังสามารถเรียกได้ตามผลผลิตของวัตถุดิบในกระบวนการผลิต ได้แก่  Synthetic Natural Gas (SNG) เมื่อใช้วัตถุดิบจำพวกไม้ และชีวมวล Biogenic Synthetic Gas (BioSNG) เมื่อใช้วัตถุดิบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการอิเล็กโทรไลซิส  Biogenic Synthetic Gas (BioSNG)

       การสังเคราะห์ก๊าซมีเทนชีวภาพสามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ การผลิตโดยอาศัยจุลินทรีย์ การไพโรไลซิส (Pyrolysis) และกระบวนการแปรสภาพเป็นก๊าซ (Gasification)

 

2.1 การผลิตโดยอาศัยจุลินทรีย์

      การผลิตก๊าซมีเทนชีวภาพโดยอาศัยจุลินทรีย์ต่างๆ สามารถแบ่งกระบวนการหมักย่อยไร้อากาศเป็น 3 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการไฮโดรไลซิส กระบวนการแอซิโดเจนิซิสและแอซิโตเจนิซิส และกระบวนการมีเทโนเจนิซิส [1]

     2.1.1 กระบวนการไฮโดรไลซิส

    เป็นการลดขนาดโมเลกุลของสารอินทรีย์ให้มีขนาดเล็กลงและง่ายต่อการละลายน้ำโดยจะมีแบคทีเรียกลุ่มหนึ่งปล่อยเอนไซม์มาช่วยเร่งการแตกตัวของโมเลกุล ภาพที่ 4 แสดงถึงสารอินทรีย์ที่ได้หลังจากการลดขนาดด้วยกระบวนการไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) โดยมีวัตถุดิบตั้งต้นเป็นคาร์โบไฮเดรตกลุ่มพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) ไขมัน และโปรตีน

 

            2.1.2 กระบวนการแอซิโดเจนิซิสและแอซิโตเจนิซิส

             กระบวนการแอซิโดเจนิซิส (Acidogenesis) เป็นการเปลี่ยนสารอินทรีย์ขนาดเล็กให้เป็นกรดอินทรีย์เพื่อให้สามารถซึมผ่านเข้าสู่ผนังเซลล์และย่อยสลายสารอินทรีย์ภายในเซลล์ให้กลายเป็นกรดอะซิติกและก๊าซไฮโดรเจน (กระบวนการอิซิโตเจนิซิส: Acetogenesis) ดังภาพ

                 2.1.3 กระบวนการมีเทโนเจนิซิส

              กระบวนการนี้เป็นกระบวนการผลิตก๊าซมีเทน (Methanogenesis) โดยแบคทีเรียมีเทนโนเจน (Methanogens) จะทำการย่อยสลายและเปลี่ยนกรดอะซิติกและไฮโดรเจนให้เป็นก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังภาพ

 

      ในกระบวนการสร้างก๊าซมีเทนมี 2 ขั้นตอนที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตมีเทนคือ กระบวนการออกซิเดชัน (Oxidation) และรีดักชัน (Reduction) ในขั้นตอนแรกจะเป็นการเปลี่ยนกรดอะซิติกโดยการออกซิเดชันกับน้ำเพื่อเปลี่ยนให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์กับก๊าซไฮโดรเจนก่อน สำหรับผลผลิตที่ได้ในขั้นตอนนี้จะถูกรีดักชัน เพื่อเปลี่ยนให้เป็นก๊าซมีเทนและน้ำต่อไป ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอน คือ [1]

 

2.2 การผลิตก๊าซมีเทนชีวภาพแบบไพโรไลซิส

    กระบวนการผลิตก๊าซมีเทนชีวภาพแบบไพโรไลซิสแสดงดังภาพที่ 8 การสังเคราะห์เชื้อเพลิงประกอบด้วยการพรีรีฟอร์มมิง (Pre-reforming) ตามด้วยกระบวนการเปลี่ยนก๊าซ (Water gas shift: WGS) รวมกับการทำกระบวนการมีเทโนเจน รูปแบบกระบวนการทั้งหมดจะแสดงดังภาพ

2.3 การผลิตก๊าซมีเทนชีวภาพแบบกระบวนการแปรสภาพเป็นก๊าซ

      วัตถุดิบจะถูกป้อนเข้าระบบเพื่อทำการพรีทรีทเมนท์ก่อนเข้าระบบแปรสภาพเป็นก๊าซโดยเกิดการแตกตัวของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในสภาวะที่มีการควบคุมปริมาณออกซิเจนในสัดส่วนที่ต่ำกว่าค่าที่ทำ ให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์คือก๊าซสังเคราะห์ (Synthesis gas) ก๊าซที่ได้จะเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงเพื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน แสดงตัวอย่างกระบวนผลิตได้ดังภาพที่ 12 [5,6]

 

ยังไม่มีข้อมูล


ยังไม่มีข้อมูล


ชื่อไฟล์ 
26-Bio-MethaneDownload