น้ำมันปิโตรสังเคราะห์ (Synthetic petrol)

  • เชื้อเพลิงสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงผลิตจากก๊าซสังเคราะห์ที่ผสมระหว่างก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และก๊าซไฮโดรเจน
  • วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก๊าซสังเคราะห์ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบันคือชีวมวล
  • การนำชีวมวลมาผ่านกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน (Gasification) เพื่อเปลี่ยนชีวมวลเป็นก๊าซสังเคราะห์ แล้วนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ผ่านกระบวนการฟิชเชอร์ทรปช์ (Fischer-tropsch) เพื่อเปลี่ยนโมเลกุลของก๊าซสังเคราะห์ให้เป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ต่าง ๆ
  • ภาพแสดงให้เห็นถึงการหมุนเวียนของการใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวลเพื่อผลิตเป็นน้ำมัน
    ปิโตรสังเคราะห์
  • น้ำมันปิโตรสังเคราะห์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ น้ำมันดีเซลสังเคราะห์และ
    ก๊าซโซลีนสังเคราะห์ที่ได้จาก
    กระบวนการฟิชเชอร์ทรปช์ (Fischer-tropsch)

      เชื้อเพลิงสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงสะอาดและยั่งยืน แตกต่างจากเชื้อเพลิงที่ได้จากน้ำมันดิบที่นับวันจะยิ่งลดน้อยลง และมีราคาที่สูงขึ้น เชื้อเพลิงหรือน้ำมันสังเคราะห์เหล่านี้จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันปิโตรเลียมได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดมลพิษจากการใช้งานอีกด้วย เนื่องจากปราศจากกำมะถันและมีปริมาณสารประกอบอะโรมาติกต่ำ เขม่าน้อย เป็นต้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในอีกไม่เกิน 50 ปีข้างหน้า ปิโตรเลียมสังเคราะห์จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม

       สารชีวมวลตั้งต้นในการผลิตก๊าซสังเคราะห์ผ่านกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน และกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยจะทำให้โมเลกุลของก๊าซสังเคราะห์เปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ โดยมีเมทานอลเป็นสารตั้งต้นในการผลิตก๊าซโซลีน ผ่านกระบวนการ MTG (Methanol to Gasoline)

        

         การสังเคราะห์ไฮโดรคาร์บอนเหลวจากก๊าซสังเคราะห์เป็นไปได้โดยผ่านปฏิกิริยาฟิชเชอร์ทรอปซ์ หรือกระบวนการการเปลี่ยนเมทานอลเป็นก๊าซโซลีน ในทั้งสองกรณีสมการทั่วไปของการสังเคราะห์เหมือนกัน คือสมการ (1-2)

      สำหรับกระบวนการเปลี่ยนเมทานอลเป็นก๊าซโซลีน (Methanol to Gasoline: MTG) นั้นเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการเปลี่ยนก๊าซให้เป็นของเหลว สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทต่างๆ และน้ำ แสดงดังภาพที่ 5 และก๊าซโซลีนที่ได้จะถูกป้อนเข้าสู่กระบวนการ Recovery ดังภาพ

 

 

    ก๊าซโซลีนสังเคราะห์นิยมนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยก๊าซโซลีนสังเคราะห์จะใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ซึ่งมีการจุดระเบิดโดยใช้หัวเทียน เมื่อก๊าซโซลีนถูกฉีดผสมกับอากาศในห้องเผาไหม้จะเกิดการเผาไหม้

    หลักการทำงานของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน จะใช้น้ำมันก๊าซโซลีนทำงาน 4 จังหวะ คือ จังหวะดูด อัด ระเบิด และจังหวะคาย แสดงการทำงานในภาพที่ 7 จากภาพวัฎจักรสี่จังหวะ หมายเลข1 จังหวะดูด หมายเลข2 เชื้อเพลิงจะเข้าสู่กระบอกสูบ เชื้อเพลิงจะถูกบีบอัดในจังหวะอัด หมายเลข3 จุดระเบิดในจังหวะกำลัง หมายเลข4 ดันลูกสูบลงแก๊สเสียถูกขับออกในจังหวะคาย [5]

ยังไม่มีข้อมูล


ยังไม่มีข้อมูล


ชื่อไฟล์ 
23-synthetic-petroDownload