- พลาสติกชีวภาพพอลิพรอพิลีน (Bio-polypropylene: Bio-PP) จัดเป็นพอลิเมอร์ประเภทเทอร์โม-พลาสติกที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ แต่ยังมีการใช้ในงานอื่น ๆ เช่น สิ่งทอ ขวด สติกเกอร์ลูกบาศก์ และธนบัตรพอลิเมอร์ เป็นต้น
- ความแตกต่างระหว่าง Bio-PP และพอลิพรอพิลีน (Polypropylene: PP) คือ การจัดเรียงตัวของ Bio-PP จัดแบบไอโซแทกติก (Isotactic) ส่งผลต่อคุณสมบัติของ Bio-PP กล่าวคือ สามารถทนทาน ยืดหยุ่น และสามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทำให้เหมาะสำหรับการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ [1-4]
กระบวนการสังเคราะห์พอลิพรอพิลีนชีวภาพ
การสังเคราะห์ Bio-PP คล้ายการสังเคราะห์ PP ทั่วไป แต่มีความต่างคือการสังเคราะห์มอนอเมอร์ โดยสามารถแบ่งเทคนิคการสังเคราะห์พรอพิลีนเป็น 2 แบบ ได้แก่ การสังเคราะห์ทางชีวเคมี (Biochemical) หรือการหมัก (Fermentation) และการสังเคราะห์แบบเคมีเชิงความร้อน (Thermochemical) หรือการทำให้เป็นก๊าซ (Involving gasification) [4,6,7]
ตัวอย่าง การสังเคราะห์ Bio-PP ทางชีวเคมี
ขั้นที่ 1 หมักวัตุดิบทางธรรมชาติ เช่น ข้าวโพด อ้อย หรือผักเหลือใช้ โดยใช้เอนไซม์เพื่อให้เปลี่ยนเป็นน้ำตาล และเมื่อหมักต่อเป็นเวลานานขึ้นจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นเอทานอล
ขั้นที่ 2 นำเอทานอลมาทำปฏิกิริยากำจัดน้ำออก (Dehydration reaction) จะได้เป็นเอทิลีนชีวภาพ
ขั้นที่ 3 นำเอทิลีนชีวภาพมาไดเมอร์ไรซ์ (Dimerized) เพื่อผลิตเป็นนอร์มอลบิวทีน (n-butene)
ขั้นที่ 4 นำนอร์มอลบิวทีนมาทำปฏิกิริยากับไนโตรเจน ได้เป็นพรอพิลีนชีวภาพ
ขั้นที่ 5 นำพรอพิลีนชีวภาพทำปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรซ์เซชัน (Polymerization) เพื่อผลิต Bio-PP
ตัวอย่าง การสังเคราะห์ Bio-PP ทางเคมีเชิงความร้อน
ขั้นที่ 1 ผลิตไบโอดีเซลชีวภาพจากอ้อยระบบการสังเคราะห์ประกอบด้วย เครื่องปฏิกรณ์เพื่อทำปฏิกิริยาแก๊ซซิฟิเคชัน (Gasification reactor) ไซโคลน (Cyclone) คอลัมน์หล่อเย็น (Cooler column) และปั๊มสุญญากาศ (Vacuum pump) นำอ้อยที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งใส่ลงในเครื่องปฏิกรณ์เพื่อทำปฏิกิริยาแก๊ซซิฟิเคชัน โดยอาศัยความร้อน ก๊าซที่เกิดขึ้นจะลอยตัวขึ้นสู่ด้านบนเครื่องปฏิกรณ์เพื่อเข้าสู่ไซโคลน ในกระบวนการนี้ของแข็งจะถูกแยกลงสู่ด้านล่างและก๊าซจะเคลื่อนที่ไปยังคอลัมน์หล่อเย็นเพื่อแยกไบโอดีเซลให้ตกสู่ด้านล่างจากนั้นก๊าซจะเคลื่อนที่ไปยังปั๊มสุญญากาศเพื่อเป็นการแยกก๊าซขั้นสุดท้าย แผนผังแสดงกระบวนการทำงานแสดงดังภาพที่ 4 [9] ในการผลิตไบโอดีเซลจะได้ผลพลอยได้เป็นโพรเพนชีวภาพ
ขั้นที่ 2 นำโพรเพนชีวภาพมาทำปฏิกิริยากำจัดน้ำเพื่อผลิตเป็นพรอพิลีนชีวภาพ
“เครื่องมือที่ใช้ในการขึ้นรูป Bio-PP สามารถใช้เครื่องมือเดียวกับกระบวนการขึ้นรูป PP ได้ เนื่องจากคุณสมบัติของ Bio-PP และ PP ใกล้เคียงกัน ต่างกันตรงที่มาของมอนอเมอร์ (พรอพิลีน) เท่านั้น”
3.1 อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์
การใช้งาน Bio-PP นิยมใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากมีความปลอดภัยต่อผู้อุปโภคบริโภค สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ บรรจุภัณฑ์แบบแข็ง เช่น ขวดพลาสติก กล่องเก็บของ และบรรจุภัณฑ์แบบอ่อน เช่น ถุงใส่ของ ถุงหูหิ้ว เป็นต้น
3.2 อุตสาหกรรมการเกษตร
การนำ Bio-PP มาประยุกต์ใช้ในการเกษตรนั้นจะส่งผลให้ลดปริมาณขยะลงได้ เนื่องจาก Bio-PP มีความสามารถในการย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง ทำให้ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กระสอบข้าว ถุงปุ๋ย และตัวกรองอากาษในบ่อปลา เป็นต้น
3.3 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในบ้าน
ปัจจุบันมีของใช้ในบ้านนิยมทำจากพลาสติก แต่เพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การนำ Bio-PP มาใช้งานจึงน่าสนใจมากขึ้น ตัวอย่างเครื่องใช้ที่ผลิตจาก Bio-PP เช่น ถาดอาหาร ถุงใส่ของ ลังใส่ขวด แผ่นกันลื่น และวัสดุปูพื้น เป็นต้น
3.4 อุตสาหกรรมของเล่น
การผลิตของเล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เนื่องจากผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในวัยเด็ก ดังนั้นการผลิตของเล่นจาก Bio-PP จึงเป็นที่สนใจ เช่น ลูกบอล เมื่อเด็กนำเข้าปากหรือสัมผัสจะไม่ทำให้เกิดอันตราย เป็นต้น
ยังไม่มีข้อมูล
ยังไม่มีข้อมูล