- พลาสติกชีวภาพที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Non-Compostable biobased)
- มีคุณสมบัติเหมือนพอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) คือ มีสีขาวขุ่นและโปร่งแสง ยืดหยุ่นได้ดี ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้ดี แต่ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้น้อย และเป็นฉนวนไฟฟ้า
- ประยุกต์ใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวดน้ำดื่ม ถุงพลาสติก ถาดพลาสติก ฟิล์มห่ออาหาร เป็นต้น
- Bio-PE สามารถสังเคราะห์ได้จากพืชหรือวัตถุดิบทางธรรมชาติผ่านกระบวนการหมัก [1]
- Bio-PE มีอัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า PE กว่า 2-2.5 กิโลกรัมต่อการผลิต พลาสติก 1 กิโลกรัม [2]
- ชื่อทางการค้าของ Bio-PE ได้แก่ Green PE และ Terralene ®
กระบวนการสังเคราะห์ Bio-PE
จากที่กล่าวในข้างต้น PE และ Bio-PE มีลักษณะทางโครงสร้าง และคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ แต่จะแตกต่างกันที่วัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์ โดย PE จะได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ดังภาพที่ 2 ในขณะที่ Bio-PE ได้จากกระบวนการหมักของพืช
กระบวนการสังเคราะห์ Bio-PE สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การผลิตเอทานอล การเปลี่ยนเอทานอลเป็นเอทิลีน และการสังเคราะห์ Bio-PE
- ขั้นตอนที่ 1 : การผลิตเอทานอล เริ่มจากการสกัดอ้อยด้วยการบดและบีบเพื่อให้ได้น้ำตาลและกากน้ำตาล จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการหมักด้วยยีสต์เพื่อผลิตเป็นเอทานอล [1]
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตเอทานอล ได้แก่ ชนิดของตัวเร่งปฏิกิริยา ความดัน อุณหภูมิและการเจือจาง เอทานอลด้วยไอน้ำ
- ขั้นตอนที่ 2 : การเปลี่ยนเอทานอลเป็นเอทิลีน เป็นการนำเอทานอลที่ได้ มาผ่านกระบวนการดีไฮเดรชันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา โดยใช้อะลูมินา กรดฟอสฟอริก หรือซิลิกาเป็นตัวเร่งปฏิกริยา [5]
ขั้นตอนที่ 3 : การสังเคราะห์ Bio-PE เอทิลีนที่เตรียมได้จากขั้นตอนที่ 2 จะเกิดกระบวนการพอลิเมอไรเซชันแบบเติม (Addition polymerization) ได้เป็น PE หรือ Bio-PE ที่จำแนกตามความหนาแน่น 3 ประเภท ได้แก่ พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High density polyethylene: HDPE) พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene: LDPE) และพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (Linear low density polyethylene: LLDPE)
Bio-PE สามารถใช้เครื่องมือเดียวกันกับกระบวนการขึ้นรูป PE ได้ เนื่องจาก Bio-PE มีโครงสร้างและคุณสมบัติที่เหมือนกับ PE ซึ่งมีความแตกต่างกันเพียงสารตั้งต้นในการสังเคราะห์พอลิเมอร์เท่านั้น
ยังไม่มีข้อมูล
ยังไม่มีข้อมูล