พอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลท (Polybutylene Adipate-co-Terephthalate)

  • มีคุณสมบัติคล้ายกับพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene: LDPE)
    • มีความแข็งแรงสูง เหนียว มีความยืดหยุ่นสูง และขึ้นรูปได้ง่าย
  • PBAT นิยมในการใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ฟิล์มห่ออาหาร ฟิล์มคลุมหน้าดิน ถาดพลาสติกถุงหูหิ้ว เป็นต้น
  • เป็นพลาสตกชีวภาพที่มีราคาแพง
  • มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
  • การนำ PBAT มาใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมหรือเชิงพาณิชย์ควรมีการผสมกับพอลิเมอร์ชนิดอื่น เช่น เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช (Thermoplastic starch: TPS), พอลิแลคติกแอซิด (Polylactic acid: PLA), พอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Poly(butylene succinate): PBS) เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณสมบัติให้แก่ชิ้นงาน [1,2,3]
  • ข้อด้อยของ PLA
    • เปราะ
    • แตกหักง่าย
    • ความสามารถในขึ้นรูปด้วยกระบวนการต่างๆ ยาก
  • การผสม PLA กับ PBAT จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี
    • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความเหนียว (Toughness) ให้กับ PLA [4]
  • ชื่อทางเคมีของ PBAT เช่น EnPol®, SkyGreenTM, Ecoflex®, Origo-Bi® เป็นต้น

 

      สารตั้งต้นที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ PBAT มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่กรดอะดิปิก (Adipic acid)          กรดเทเรฟทาลิก แอซิด (Terephthalic acid) และ 1,4-บิวเทนไดออล (1,4-Butanediol) [5]

    PBAT สามารถขึ้นรูปได้ด้วยกระบวนการเดียวกันกับเทอร์โมพลาสติกทั่วไป เช่น กระบวนการอัดขึ้นรูปพลาสติกแผ่น (Thermoforming) กระบวนการเป่าฟิล์ม (Blow film extrusion) และนิยมใช้ผสมกับ                 พอลิเมอร์ชนิดอื่นๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณสมบัติเชิงกลให้แก่พอลิเมอร์ชนิดอื่น

  1. ข้อมูลเพิ่มเติม
  • การผสม PBAT และ PLA ไม่ได้สามารถผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่ายนัก ดังนั้นจึงต้องมีการผสมสารตัวเติมอื่น เพื่อเพิ่มความเข้ากันได้และมีต้นทุนต่ำ [18]
  • ตัวอย่างเช่น การเติมเปลือกไข่ระดับนาโน 0.5% ใน PBAT/PLA ปริมาณ 70/30 % 
  • เปลือกไข่มีแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้ากันได้ของพอลิเมอร์และสมบัติความยืดหยุ่น
  • ตลาดพลาสติกชีวภาพในประเทศจีนมีอัตราการเติบโตกว่า 13% ในปี 2016  โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพหลักๆ เช่น PBAT, PLA และ PHA เป็นต้น [19]

ยังไม่มีข้อมูล


ยังไม่มีข้อมูล


ชื่อไฟล์ 
9-PBATDownload