พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรต (Polyhydroxybutyrate: PHB)

  • มีความสามารถทนอุณหภูมิสูง
  • มีความหนืดสูง
  • สามารถหล่อขึ้นรูปเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ตามต้องการ
  • มีคุณสมบัติเป็นฟิล์มกันน้ำและความชื้นได้ดี
  • ทนทานต่อการซึมผ่านของน้ำและออกซิเจน
  • ประยุกต์ใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์อาหาร ชิ้นส่วนรถยนต์ และอุปกรณ์การแพทย์ [2,3]
  • ปัญหาหลักของ PHB คือสารตั้งต้นที่ใช้จะต้องสังเคราะห์มาจากสารประกอบคาร์บอนภายในเซลล์จุลินทรีย์ เช่น Alcaligenes eutrophus, Alcaligenes, Azobacter [4]
    • ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตสูง
  • ปรับปรุงโดยการสังเคราะห์ PHB โดยใช้แหล่งสารประกอบคาร์บอนจากผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง [5]
    • ได้ผลผลิตพลอยได้ในอุตสาหกรรม เช่น กากน้ำตาล กลีเซอรอล หางนม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและส่งผลให้มีการนำ PHB มาใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น

 

 

    แหล่งคาร์บอนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนในการผลิต PHB ซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบชีวมวลหรือผลพลอยได้ในอุตสาหกรรม เช่น กลีเซอรอล ซึ่งเป็นผลพลอยได้จาการผลิตไบโอดีเซลที่มีราคาถูกกว่าแหล่งคาร์บอนที่ได้จากกลูโคส ซูโครส หรือหางนม เป็นต้น [3]

  • PHB สามารถขึ้นรูปได้หลายกระบวนการ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน ทั้งกระบวนการฉีด (Injection molding) กระบวนการขึ้นรูปฟิล์ม (Cast film) กระบวนการเป่าฟิล์ม (Blow film extrusion)

  • อุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทอื่นๆ ที่ผลิตจาก PBS เช่น ไหมเย็บแผล โครงสร้างรองรับเซลล์                    ตาข่ายผ่าตัด วัสดุสำหรับพาหรือปลดปล่อยตัวยา เป็นต้น
  • ข้อดีของ PHB ที่นิยมนามาใช้ด้านการแพทย์
  • สามารถขึ้นรูปได้ด้วยกระบวนการทั่วไป (Processability)
  • มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อของร่างกาย (Biocompatibility)
  • ย่อยสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Degradability)

ยังไม่มีข้อมูล


ยังไม่มีข้อมูล


ชื่อไฟล์ 
7-PHBDownload